ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ (กรีก: πλανήτης อังกฤษ: planet หรือ "ผู้พเนจร") คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์
ความหมายของดาวเคราะห์
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ได้มีมติกำหนดนิยามใหม่ของดาวเคราะห์ ดังนี้
-เป็นดาวที่โคจรรอบดาวฤกษ์ (ซึ่งในที่นี้หมายถึงดวงอาทิตย์) แต่ไม่ใช่ดาวฤกษ์ และไม่ใช่ดาวบริวาร
-มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต หรือรูปร่างใกล้เคียงกับ
ทรงกลม
-มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง
-มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 500 ไมล์ (804.63 กิโลเมตร)
นิยามใหม่นี้ส่งผลให้ ดาวพลูโต (♇) และดาวอีรีส ซึ่งเคยนับเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 และ 10 ถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูด และวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ ทั้งยังมีวงโคจรที่ไม่สอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ต่างๆในระบบสุริยะ
ปัจจุบันดาวเคราะห์ในระบบสุริยะมีอยู่ทั้งหมด 8 ดวง โดยเรียงจากดวงอาทิตย์ออกไปได้แก่
1. ดาวพุธ (Mercury) (☿)
-อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
-กลางวันร้อนจัด กลางคืนเย็นจัด จนได้ฉายาว่า เตาไฟแช่แข็ง
-มีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ของโลกเพียงเล็กน้อย
-พื้นผิวส่วนใหญ่เป็นฝุ่นและหิน มีหลุมลึกมากมาย ไม่มีอากาศ ไม่มีน้ำ
2. ดาวศุกร์ (Venus) (♀)
-มีชื่อเรียกว่า ดาวประจำเมือง เมื่อพลบค่ำ และมีชื่อเรียกว่า ดาวประกายพรึก เมื่อใกล้รุ่ง
-เป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุดในระบบสุริยะ มีอุณหภูมิถึง 480 องศาเซลเซียส
-มีไอหมอกของกรดกำมะถันปกคลุมอย่างหนาแน่น ทำให้เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเข้าไปในดาว
-หมอกควันของกรดกำมะถันบนประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศโลกกว่า60เท่า
-พื้นผิวแห้งแล้ง เป็นหินและร้อนจัดนอกจากนี้ก็มีรอยแยกลึกและภูเขาไฟดับ
3. โลก (Earth) (⊕)
-เป็นดาวดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในระบบสุริยะ
-หมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรใช้เวลา 365.25 วัน และทุกๆ 4 ปีจะมีวันใหม่จากเศษวันที่เหลือ
-ไม่ได้มีรูปร่างกลมโดยสิ้นเชิง เส้นรอบวงที่เส้นศูนย์สูตรยาว 40,077 กิโลเมตร (24,903 ไมล์)และที่ขั้วโลกยาว 40,009 กิโลเมตร (24,861 ไมล์)
4. ดาวอังคาร (Mars) (♂)
-หรือเรียกว่าดาวแดง เพราะพื้นผิวเป็นหินสีแดง
-1 ปีบนดาวอังคารเกือบเท่า 2 ปีโลก แต่ 1 วันบนดาวอังคารจะนานกว่าครึ่งชั่งโมงโลกเพียงเล็กน้อย
-มีขนาดใหญ่ประมาณครึ่งหนึ่งของโลก
-อุณหภูมิจะต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
-มีก้องหินใหญ่และหลุมลึก ภูเขาสูง หุบเหว และเนินมากมาย
-มีภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะคือ ภูเขาโอลิมปัส (Mount Olympus)
5. ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) (♃)
-มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
-มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11.2 เท่า
-เป็นดาวเคราะห์ก๊าซ เพราะมีองค์ประกอบเป็นก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียมคล้ายในดวงอาทิตย์
-มีดาวบริวาร 4 ดวงใหญ่เรียงกันอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร ซึ่งถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ จึงได้ชื่อว่าดวงจันทร์แห่งกาลิเลโอ
6. ดาวเสาร์ (Saturn) (♄)
-มีวงแหวนขนาดใหญ่ล้อมรอบ
-มีขนาดใหญ่รองจากดาวพฤหัสบดี ถ้านับวงแหวนเข้าไปด้วย จะมีขนาดเท่ากับดาวพฤหัสบดี
-มีความหนาแน่นน้อยที่สุดและน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ ดังนั้นหากนำน้ำปริมาณมหาศาลมารองรับ ดาวเสาร์จะลอยน้ำได้
-ใช้เวลานานเกือบ 30 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ แต่หมุนรอบตัวเองเร็วมาก จึงทำให้โป่งออกทางด้านข้าง
7. ดาวยูเรนัส (Uranus) (♅)
-มีขนาดใหญ่เป็นที่สามในระบบสุริยะ
-มีลักษณะเลือนลาง ต้องมองดูด้วยกล้องโทรทรรศน์เท่านั้น
-มีวงแหวนที่มีขนาดเล็กมากๆ
8. ดาวเนปจูน (Neptune) (♆)
-มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ในระบบสุริยะ
-สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตาจากบนโลก
ความหมายของดาวเคราะห์
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ได้มีมติกำหนดนิยามใหม่ของดาวเคราะห์ ดังนี้
-เป็นดาวที่โคจรรอบดาวฤกษ์ (ซึ่งในที่นี้หมายถึงดวงอาทิตย์) แต่ไม่ใช่ดาวฤกษ์ และไม่ใช่ดาวบริวาร
-มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต หรือรูปร่างใกล้เคียงกับ
ทรงกลม
-มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง
-มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 500 ไมล์ (804.63 กิโลเมตร)
นิยามใหม่นี้ส่งผลให้ ดาวพลูโต (♇) และดาวอีรีส ซึ่งเคยนับเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 และ 10 ถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูด และวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ ทั้งยังมีวงโคจรที่ไม่สอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ต่างๆในระบบสุริยะ
ปัจจุบันดาวเคราะห์ในระบบสุริยะมีอยู่ทั้งหมด 8 ดวง โดยเรียงจากดวงอาทิตย์ออกไปได้แก่
1. ดาวพุธ (Mercury) (☿)
-อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
-กลางวันร้อนจัด กลางคืนเย็นจัด จนได้ฉายาว่า เตาไฟแช่แข็ง
-มีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ของโลกเพียงเล็กน้อย
-พื้นผิวส่วนใหญ่เป็นฝุ่นและหิน มีหลุมลึกมากมาย ไม่มีอากาศ ไม่มีน้ำ
2. ดาวศุกร์ (Venus) (♀)
-มีชื่อเรียกว่า ดาวประจำเมือง เมื่อพลบค่ำ และมีชื่อเรียกว่า ดาวประกายพรึก เมื่อใกล้รุ่ง
-เป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุดในระบบสุริยะ มีอุณหภูมิถึง 480 องศาเซลเซียส
-มีไอหมอกของกรดกำมะถันปกคลุมอย่างหนาแน่น ทำให้เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเข้าไปในดาว
-หมอกควันของกรดกำมะถันบนประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศโลกกว่า60เท่า
-พื้นผิวแห้งแล้ง เป็นหินและร้อนจัดนอกจากนี้ก็มีรอยแยกลึกและภูเขาไฟดับ
3. โลก (Earth) (⊕)
-เป็นดาวดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในระบบสุริยะ
-หมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรใช้เวลา 365.25 วัน และทุกๆ 4 ปีจะมีวันใหม่จากเศษวันที่เหลือ
-ไม่ได้มีรูปร่างกลมโดยสิ้นเชิง เส้นรอบวงที่เส้นศูนย์สูตรยาว 40,077 กิโลเมตร (24,903 ไมล์)และที่ขั้วโลกยาว 40,009 กิโลเมตร (24,861 ไมล์)
4. ดาวอังคาร (Mars) (♂)
-หรือเรียกว่าดาวแดง เพราะพื้นผิวเป็นหินสีแดง
-1 ปีบนดาวอังคารเกือบเท่า 2 ปีโลก แต่ 1 วันบนดาวอังคารจะนานกว่าครึ่งชั่งโมงโลกเพียงเล็กน้อย
-มีขนาดใหญ่ประมาณครึ่งหนึ่งของโลก
-อุณหภูมิจะต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
-มีก้องหินใหญ่และหลุมลึก ภูเขาสูง หุบเหว และเนินมากมาย
-มีภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะคือ ภูเขาโอลิมปัส (Mount Olympus)
5. ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) (♃)
-มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
-มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11.2 เท่า
-เป็นดาวเคราะห์ก๊าซ เพราะมีองค์ประกอบเป็นก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียมคล้ายในดวงอาทิตย์
-มีดาวบริวาร 4 ดวงใหญ่เรียงกันอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร ซึ่งถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ จึงได้ชื่อว่าดวงจันทร์แห่งกาลิเลโอ
6. ดาวเสาร์ (Saturn) (♄)
-มีวงแหวนขนาดใหญ่ล้อมรอบ
-มีขนาดใหญ่รองจากดาวพฤหัสบดี ถ้านับวงแหวนเข้าไปด้วย จะมีขนาดเท่ากับดาวพฤหัสบดี
-มีความหนาแน่นน้อยที่สุดและน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ ดังนั้นหากนำน้ำปริมาณมหาศาลมารองรับ ดาวเสาร์จะลอยน้ำได้
-ใช้เวลานานเกือบ 30 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ แต่หมุนรอบตัวเองเร็วมาก จึงทำให้โป่งออกทางด้านข้าง
7. ดาวยูเรนัส (Uranus) (♅)
-มีขนาดใหญ่เป็นที่สามในระบบสุริยะ
-มีลักษณะเลือนลาง ต้องมองดูด้วยกล้องโทรทรรศน์เท่านั้น
-มีวงแหวนที่มีขนาดเล็กมากๆ
8. ดาวเนปจูน (Neptune) (♆)
-มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ในระบบสุริยะ
โลก |
ดาวพุธ |
ดาวศุกร์ |
ดาวอังคาร |
ดาวเสาร์ |
ดาวพฤหัสบดี |
ดาวยูเรนัส |
ดาวเนปจูน |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น